ผู้หญิงกำลังใช้บ้องสูบกัญชา ปลดล็อก กัญชา สูบกัญชา ไม่ผิด กฎหมาย

สูบกัญชา อะไรได้ อะไรไม่ได้ รู้ก่อนสูบ อัพเดทล่าสุดปี 2565

อัพเดทกฎหมายกัญชา วันที่ 17 มิ.ย.

ประกาศล่าสุดของกระทรวงสาธารณะสุข ให้กัญชา-สารสกัดจากกัญชา เป็นสมุนไพรควบคุม ให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปครอบครองใช้ประโยชน์ได้ แต่ยังห้ามสูบในที่สาธารณะ และห้ามจำหน่ายให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ได้ออกประกาศเกี่ยวกับเรื่อง “สมุนไพรควบคุม”ไว้ดังนี้:

  1. ให้กัญชา หรือสารสกัดจากกัญชา ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis เป็นสมุนไพรควบคุม
  2. อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปสามารถครอบครองใช้ประโยชน์ ดูแล เก็บรักษา ขนย้าย จำหน่ายสมุนไพรควบคุมตามข้อ 1 ได้
    • โดยห้ามการกระทำ ดังต่อไปนี้:

    • การใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะในการสูบ (ห้ามสูบในที่สาธารณะ)
    • การใช้ประโยชน์กับสตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร
    • การจําหน่ายให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร

  3. อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน และ หมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สามารถใช้ประโยชน์จากสมุนไพรควบคุม ตามข้อ 1 ให้กับผู้ป่วยของตน
  4. อนุญาตให้ผู้ป่วยตามข้อ 3 สามารถครอบครอง ขนย้าย ดูแล เก็บรักษา ใช้ประโยชน์ ในปริมาณที่จ่ายให้สําหรับการใช้ประโยชน์เป็นเวลาสามสิบวัน
  5. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565

เท่ากับว่ามีผลบังคับใช้วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565

อัพเดทกฎหมายกัญชา วันที่ 15 มิ.ย.

เมื่อเปิดเสรีการปลูกและการใช้ กัญชา กัญชงที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศอีกฉบับ กำหนดให้การกระทำที่ทำให้เกิดกลิ่น หรือควัน กัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ มีผลบังคับในวันรุ่งขึ้น ก็คือ วันที่ 15 มิ.ย. นั้นเอง
อธิบดีกรมอนามัยระบุว่า ควันกัญชา ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่วนเด็กและทารกที่สัมผัสควันกัญชามือสอง อาจได้รับผลกระทบทางจิตประสาทเช่นเดียวกับผู้สูบ

สำหรับผู้ก่อเหตุรำคาญ หากได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานให้ปรับปรุงแก้ไข แต่ไม่ยอมดำเนินการ จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ใส่กัญชาในอาหารได้ แต่ต้องขึ้นคำเตือน

กรมอนามัย ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศเรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการประกอบอาหารหรือปรุงอาหาร จำนวน 2 ฉบับ

ประกาศฉบับแรก ออกประกาศเมื่อวันที่ 30 มีนาคม มีเนื้อหารวม 6 ข้อ กำหนดให้สถานประกอบการกิจการอาหาร ต้องควบคุม กำกับ และจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพและต้องตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ดังนี้:

  1. จัดทำข้อความแสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา
  2. แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด
  3. แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหาร ทว่ากรมอนามัยเพิ่งออกมายกตัวอย่างเพิ่มเติมไม่กี่วันนี้ว่า อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู ส่วนอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่ม แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู
  4. แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย ในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ
  5. แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบกัญชาทราบ
  6. สำหรับข้อความเตือนที่ถูกระบุไว้ในประกาศของกรมอนามัยมี 4 ข้อความ ได้แก่:

    • “เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน”
    • “หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที”
    • “ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน”
    • “อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล”

  7. ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค

ประกาศฉบับที่สองประกาศใช้ในวัน “ปลดล็อกกัญชา” 9 มิ.ย. มีสาระเพิ่มเติมเพียงแค่ “กำหนดให้สถานประกอบกิจการอาหาร มีการจัดเก็บใบกัญชาที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บเป็นสัดส่วน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดเชื้อรา หรือเน่าเสีย”

อย่างไรก็ตามการควบคุมและป้องกันผลกระทบจากการใช้กัญชาปรุงอาหาร ส่วนใหญ่เป็นเพียง “คำแนะนำ” ซึ่งการเอาผิดทางกฎหมาย จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการทำผิดกฎหมายจะแจ้ง เช่น ใช้น้ำมันกัญชาเกินปริมาณที่กำหนด (มีปริมาณ THC เกิน 0.2%) ก็จะผิดกฎหมายยาเสพติด

อัพเดทกฎหมายกัญชา วันที่ 9 มิ.ย.

กฎหมายกัญชา นับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 รัฐบาลได้ปลดล็อกพืชกัญชา พืชกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติด และมีอะไรบ้างที่ทำได้ภายในขอบเขตของกฎหมาย อะไรบ้างละที่ไม่ต้องขออนุญาตหรือต้องจดแจ้งขึ้นทะเบียน ในสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขและประชาชนผลักดันกันมาตลอด คือการนำพืช กัญชา กัญชง มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ การดูแลสุขภาพ เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น HighSoStore เราจะสรุปให้แบบเข้าใจง่าย ๆ

กัญชาไม่ได้เป็นยาเสพติดอีกต่อไป

ประชาชน จะสามารถ ปลูกกัญชา ใช้กัญชา นำเข้ากัญชา หรือจำหน่ายกัญชาอย่างไรไม่ให้ผิด? จากการประกาศ ที่มีผลบังคับใช้ วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ซึ่งมีผลให้ทุกส่วนของพืช กัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่สกัดออกมาจากพืชกัญชา มีค่า THC สูงกว่า 0.2% สาร THC คืออะไร? ถือว่าพืชกัญชง กัญชา เป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่เราต้องใช้อย่างระมัดระวังเพื่อประโยชน์ของสุขภาพ และการรักษาอาการเจ็บป่วย

เป้าหมายหลักคือ การนำกัญชาไปรักษาโรค

กัญชาสามารถใช้รักษาโรคและอาการต่าง ๆ การนำผลิตภัณฑ์ยากัญชามาใช้ ควรได้รับคำแนะนำและได้รับการวินิจฉัย จากแพทย์หรือบุคคลากรทางการแพทย์ โดยปฏิบัตรตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้ก้าวไปด้วยกันอย่างถูกต้องว่า ประชาชนจะสามารถปลูกพืชกัญชากัญชง เพื่อประโยชน์ในการรักษาและดูแลสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุขเองได้มีการเตรียมความพร้อมรองรับในเรื่องผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในการนำกัญชากัญชงไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น ห้ามจำหน่ายให้ใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี การออกประกาศกำหนดให้กลิ่นควันกัญชากัญชงเป็นเหตุรำคาญ นโยบายนี้ไม่ครอบคลุมถึงการสูบหรือการบริโภคเพื่อความบันเทิงหรือนันทนาการ เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุข

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว จาก ปลดล็อก กัญชา กัญชง #ใช้กัญชาอย่างเข้าใจ

กฎหมายกัญชา และสิ่งที่สามารถทำได้

นับจากวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ส่วนต่าง ๆ ของกัญชา กัญชง ไม่ว่าจะเป็นดอก หรือว่า ยอด ใบ ลำต้น กิ่งก้าน ราก ทุกส่วน สามารถนำไปใช้ได้ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เป็นยาเสพติดแล้ว สามารถ ปลูก จำหน่าย สูบ แต่ก็มีขอบเขตกำกับไว้ในส่วนต่าง ๆ ของการใช้กัญชา อย่างเช่น การห้ามสูบกัญชาในที่สาธารณะ ก่อให้เกิดกลิ่นที่รบกวนผู้อื่น หรือในเชิงเพาะปลูก การปลูกเชิงพาณิชย์ก็จะมีขั้นตอนในการทะเบียนแตกต่างจากการจดแจ้งปลูกทั่วไป เป็นต้น

การทำสารสกัดกัญชาและการขออนุญาต

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ให้ข้อมูลในส่วนการสกัดไว้ว่า โดยทั่วไปแล้วการทำสารสกัดกัญชาจะมีการตรวจสอบว่ามีสารแต่ละส่วนปริมาณเท่าใด ต้องนำสารสกัดที่ได้ไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ ถึงแม้ว่าจะมีการอนุญาตให้ปลูกตามบ้านเรือนได้แล้ว แต่การนำส่วนใดส่วนหนึ่งจากพืชกัญชา และกัญชง ไปทำการสกัดเพื่อให้ได้สาร THC ยังคงต้องทำการแจ้งขออนุญาตผลิตและสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด) โดยสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2% จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ

อย่างไรก็ตาม สารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % จัดว่าเป็นยาเสพติดให้โทษ ยังถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย เมื่อถูกตรวจพบ เนื่องจากไม่ได้เป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะยังไม่ดำเนินคดีในทันที เจ้าหน้าที่จะทำการยึดสารสกัดนั้นเพื่อส่งตรวจสอบหาค่าสาร THC กับผู้เชี่ยวชาญ สืบหาแหล่งที่มา ตรวจหลักฐานการขออนุญาต หากพบว่าผิดกฎหมาย จึงจะเรียกตัวมาแจ้งข้อกล่าวหา ดำเนินคดีในภายหลัง

สามารถปลูกกัญชาได้

การปลูกกัญชาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ประชาชนที่มีความต้องการในการปลูกพืชกัญชา หรือกัญชง แจ้งข้อมูลผ่าน แอพพลิเคชั่น “ปลูกกัญ” จดแจ้งปลูกกัญชา ได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว เพียงเข้าแอพพลิเคชั่นไปลงทะเบียนจดแจ้งการปลูก กัญชา กัญชง ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ประชาชนสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องทำการจดแจ้งกับคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

หากปลูกใช้เชิงพาณิชย์ เอาไปค้าขาย แปรสภาพไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ ต้องขออนุญาต ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการอาหารและยา ต่างกับปลูกกันเองเพื่อใช้ในครัวเรือน ใช้เพื่อประกอบอาหารกัญชา ที่ทำการจดแจ้งผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์เท่านั้น

ลงทะเบียน ปลูกกัญชาที่แอพพลิเคชั่น ปลูกกัญ

ปลูกกัญ ลงทะเบียนที่ไหน?

โดยแอพพลิเคชั่น “ปลูกกัญ” สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android ผ่าน App Store และ Play Store ต้องติดตั้งแอพพลิเคชั่น เพื่อลงทะเบียนและรับใบจดแจ้งปลูกกัญชา หรือถ้าไม่สะดวกลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นสามารถลงทะเบียจดแจ้งปลูกกัญชา ผ่านเว็บไซต์ https://plookganja.fda.moph.go.th/

ขั้นตอนในการจดแจ้ง ปลูกกัญ

โดยการจดแจ้งแสดงความต้องการปลูกกัญชาในมีเพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้:

  1. ลงทะเบียน
  2. จดแจ้งตามวัตถุประสงค์
  3. รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์

หากมีข้อสงสัยหรือคำถาม สามารถติดต่อได้ที่ call center โทร 1556 กด 3

ขั้นตอนการลงทะเบียน แจ้งปลูก กัญชา

สามารถซื้อ ขาย จำหน่าย แปรรูป

ไม่ต้องขออนุญาต อาทิเช่น ส่วนของพืช การขายส่วนของพืชกัญชา กัญชง ไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายยาเสพติด

ยังต้องขออนุญาต การซื้อ ขาย จำหน่าย เมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ รวมถึงนำเข้าเมล็ดพันธุ์ กัญชา กัญชง และส่วนอื่น ๆ โดยไม่ต้องขออนุญาตยาเสพติด แต่ต้องขออนุญาตผ่าน พ.ร.บ พันธุ์พืช(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

การจำหน่ายสารสกัดจากกัญชาที่มีปริมาณสาร THC เกินกว่า 0.2% โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นมีความผิด และในส่วนการผลิต เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อจำหน่าย ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง และยาสมุนไพร ยังคงต้องขออนุญาต หากเป็นผลิตภัณฑ์ต้องขออนุญาตกับ อย. แทน โดยขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ ต้องจดแจ้งเรียบร้อยและมีฉลากภาษาไทยที่ระบุข้อความครบถ้วน ถูกต้อง จำหน่าย

ข้อห้ามที่ผิดกฎหมาย ห้ามจำหน่ายให้ใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ที่ทีอายุไม่ถึง 20 ปี ไม่สามารถนำเอากัญชาไปมวนแล้วบรรจุซองบุหรี่ขายได้ เพราะกรมสรรพสามิตยังไม่อนุญาตจึงไม่มีการจำหน่ายกัญชาแบบมวนละทำให้ไม่สามารถสูบกัญชาแบบมวนได้ย่างถูกต้องตามไปด้วย

หากยังสงสัยสามารถรับชม วิดีโอ ปลูก ใช้ จำหน่าย กัญชา กัญชง อย่างไร ให้ถูกกฎหมาย


สามารถดู ร่างพระราชบัญญัติ กัญชา กัญชง รวมถึงค่าธรรมเนียมใบอนุญาตได้ โดยการ คลิกที่นี้


สรุปสั้น ๆ ในส่วนนี้ได้ว่า ปลูกใช้ในครัวเรือน แค่ทำการจดแจ้ง และในส่วนของการผลิต การนำเข้า การส่งออก การขายเพื่อแปรรูป การสกัด การแปรสภาพ ต้องได้รับอนุญาต

สูบกัญชาได้จริงหรอ?

ถึงแม้ว่าจะมีการ ปลดล็อกกัญชา จากยาเสพติดแล้ว แต่การสูบ เพื่อสันทนาการนั้น ยังมีขอบเขตและเงื่อนไข เพื่อควบคุมการสูบกัญชาแบบ สันทนาการ สูบในที่สาธารณะมีความผิด

ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย.เป็นต้นไป การสูบกัญชาไม่มีความผิด แต่การสูบกัญชาในที่สาธารณะ รบกวนสิทธิผู้อื่น มีความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท อย่างไรก็ตามการสูบกัญชาในที่สาธารณะ ยังไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรงเช่นบุหรี่ ที่มี พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควบคุมอยู่

กล่าวโดย รอง ผบ.ตร. เกี่ยวกับการสูบกัญชา จากข่าว ตร.ย้ำ สูบกัญชาไม่ผิดแต่กลิ่นห้ามรบกวนคนอื่น

การสูบแบบพันลำ สูบได้ไหม?

สามารถรับชมวิดีโอสั้น ๆ ด้านล่าง เกี่ยวกับการสูบแบบมวน สามารถทำได้รึเปล่า กล่าวอธิบายโดย รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อนุทิน ชาญวีรกูล


สามารถสูบในบ้าน ใช้ในบ้านได้ เลือกซื้อ กระดาษโรล และ บ้องกัญชา เพื่อเพลิดเพลินไปกับการสูบกัญชาภายในบ้าน จะไม่มีปัญหาอะไร ถ้าไม่รบกวนสิทธิผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้อื่น สามารถสูบได้ แต่ไม่สามารถมวน โรล พันลำ เพื่อทำการค้าขาย และ ยังไม่สามารถสูบมวนในที่สาธารณะได้ เนื่องจากจะก่อให้เกิดมูลเหตุในการสร้างกลิ่นและความรำคาญต่อผู้อื่น

กระดาษมวน และ บ้องแก้ว วางคู่กัน

กลิ่นห้ามรบกวนคนอื่น

ผู้สูบจะไม่สามารถสูบในที่สาธารณะ เพราะว่ากลิ่นและควันจากการสูบกัญชา สามารถสร้างความรำคาญ ความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นในบริเวณนั้น ๆ ลองอ่าน วิธีการกำจัดกลิ่นกัญชา อาจจะช่วยได้ อย่างไรก็ตาม กรมอนามัย และ กระทรวงสาธารณะสุข ยังออกประกาศกำหนดให้กลิ่นและควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใดในทำนองเดียวกัน เป็นเหตุรำคาญ นำมาใช้ควบคุมการสูบกัญชา การสูบกัญชาในที่สาธารณะจึงขัดต่อประกาศนี้ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

ผู้หญิง นั่งเล่นกีต้า สูบกัญชา ภายในบ้าน
ผู้หญิง สูบกัญชา เล่นโทรศัพท์มือถือ

สรุป

สามารถปลูกพืชกัญชาได้ โดยผู้ที่ต้องการปลูกกัญชาต้องลงทะเบียน จดแจ้งตามวัตถุประสงค์ กับ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผ่านแอพพลิเคชั่น “ปลูกกัญ” หรือ เว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th ผู้สนใจสามารถรับชมวีดีโอวิธีการจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชันหรือจดแจ้งผ่านเว็บไซต์ของ อย. หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ call center โทร 1556 กด 3 ถ้าปลูกใช้ในเชิงพาณิชย์ต้องทำการขออนุญาตก่อน เช่นเดียวกับการใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปจำเป็นต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน ส่วนในเรื่องของการสูบนั้น สรุปสั้น ๆ ได้ว่า สูบกัญชาไม่ผิด แต่กลิ่นห้ามรบกวนคนอื่น และห้ามสูบในที่สาธารณะ เนื่องจากพืชกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติด แต่การใช้สารสกัดที่มีปริมาณสาร THC เกินกว่า 0.2% โดยไม่มีใบอนุญาต ไม่มีใบสั่งแพทย์ ไม่ผ่านการรับรองโดย อย. หรือนำเข้ามาจากนอกราชอาณาจักร ถือว่าผิดกฎหมาย

สามารถดูเอกสารเกี่ยวกับการสกัด การจำหน่าย กัญชา กัญชง เพิ่มเติมได้โดยการ คลิกที่นี้

สูบกัญชาไม่ผิด แต่กลิ่นห้ามรบกวนผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความรำคาญ

ข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพ:

Share:

Facebook
Twitter
Related articles

บทความอื่น ๆ

ปัจจัยสำคัญในการเลือกบ้องที่ใช่, บ้องแก้ว, บ้อง, บ้องกัญชา

ปัจจัยสำคัญในการเลือกบ้องที่ใช่

การยกระดับประสบการณ์สูบ การเลือก บ้อง ที่เหมาะสม มีความสำคัญพอๆ กับคุณภาพของสมุนไพรของคุณ highsostore จะมาแนะนำการเลือก บ้องกัญชา บ้องแก้ว ที่ใช่

บ้องแก้ว, บ้องกัญชา, บ้อง, วิธีใช้ บ้อง

วิธีใช้ บ้องแก้ว และอุปกรณ์ บ้องกัญชา คู่มือสำหรับมือใหม่ by High

เรียนรู้วิธีใช้ บ้อง และอุปกรณ์เสริม บ้องกัญชา จากคู่มือที่ครอบคลุมสำหรับผู้เริ่มต้น รับเคล็ดลับในการบดสมุนไพร การทำความสะอาด และ บ้องแก้ว ไปป์แก้ว รวมถึง …

กระดาษโรล ทำจากอะไร, วัสดุใช้ทำกระดาษโรล,กระดาษโรล

5 ประเภทวัสดุยอดนิยมที่มักนำมาใช้ทำ “กระดาษโรล” ของสายพันลำ

แนะนำ 5 ประเภทวัสดุยอดนิยมที่มักนำมาใช้ทำ “กระดาษโรล” อุปกรณ์สุดฟินของสายพันลำ ควรเลือกซื้อแบบไหนให้ได้ฟิลลิ่งโดนใจเต็มอิ่มมากที่สุดต้องศึกษาเอาไว้ให้ดีเลย